ปาน ธนพร

หน้าแรก / Instagram @parnthanaporn / รูปของ ปาน ธนพร

ปาน ธนพร

ปาน ธนพร แวกประยูร

@parnthanaporn

อินสตาแกรมของ ปาน ธนพร

7,504

Posts

151,069

Followers

467

Followings
| ติดต่องาน คุณป๊อป 084-499-3665


@parnthanaporn : วิชาใจ หลวงพี่โก๋ 🙏🙏🙏#โลกเราทั้งผองพี่น้องกัน สังเกตมั้ย เวลามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น... แนวทางในการแก้ปัญหาสามารถแบ่งออกได้เป็นสองแนวทางใหญ่ ๆ คือ หนึ่ง จัดการกับ ‘คน’ ที่เราคิดว่าเป็นต้นตอของปัญหา และ สอง จัดการกับ ‘ปัญหา’ หมอท่านหนึ่งเอ่ยกับกับผู้เขียน ประมาณว่า ทำไมคนที่มีความเสี่ยงไม่ยอมบอกความจริง เมื่อถูกซักประวัติ ถ้าเขาให้ข้อมูลตามความเป็นจริง หมอจะจัดการกับปัญหาได้ดีขึ้น เวลาที่ผู้มีความเสี่ยงไม่บอกความจริง จะมีปัญหาตามมาอีกเยอะเลย หมอสงสัยว่าทำไม เขาถึงไม่ช่วยหมอ ทำไมถึงช่วยปกปิดข้อมูลให้ไวรัส คำถามของคุณหมอน่าสนใจมาก ในสงครามระหว่างมนุษย์กับไวรัส ทำไมผู้มีความเสี่ยงจึงเลือกที่จะปกปิดข้อมูล ซึ่งดูเหมือนเป็นการสนับสนุนไวรัส มากกว่าช่วยหมอ...ให้ช่วยเขาได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย ถอยออกมามองภาพรวมที่เกิดขึ้นในสังคม สิ่งที่เราเห็นจนชินตา เวลาที่ใครสักคนกระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ดี คนส่วนมากมีแนวโน้มที่จะจัดการ ‘คน’ ทำผิด มากกว่าช่วยเหลือให้เขาปลอดภัยจากเหตุที่ทำให้เขาผิดพลาดไป ตอนเด็กๆ ผู้เขียนก็เคยโกหก ก็เรากลัวถูกลงโทษ หรือกลัวผลสืบเนื่องแย่ๆ เมื่อพูดความจริง ซึ่งบางครั้งก็เป็นความกลัวที่คิดนึกไปเอง เช่น กลัวคุณพ่อคุณแม่จะไม่รัก กลัวท่านจะเสียใจ ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ได้ใกล้เคียงความจริงเลย พอบอกความจริงกับคุณพ่อคุณแม่ ท่านก็มักจะสอนว่า ปัญหามีไว้แก้ไข แก้ไขได้ก็ดี แก้ไขไม่ได้ก็ยอมรับปล้วอยู่กับมันไป การกลบเกลื่อนหรือหมักหมมปัญหามีแต่จะทำให้ปัญหาค่อยๆ ทวีคูณจนจัดการได้ยาก นั่นคงเพราะความเป็นครอบครัวที่ทำให้เราคิดได้ว่า การจัดการปัญหา น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า จัดการคน เร็วๆ นี้ หมออีกท่าน เปรยกับผู้เขียนถึงปัญหาหนึ่งที่ผู้เก็บตัวสังเกตอาการที่บ้าน หรือสถานสังเกตอาการต้องประสบ คือ ปัญหาจากคนรอบตัว ทั้งระหว่าง และหลังการเก็บตัวสังเกตอาการ บางกรณี แค่เรื่องการอยู่การกินให้ครบตามโภชนาการก็ลำบากอยู่แล้ว ยังถูกคนในชุมชนรังเกียจ ต่อต้าน หลายกรณีที่ผู้ประกอบการที่อนุเคราะห์สถานที่เฝ้าดูอาการก็โดยหนักเหมือนกัน โปรดอย่าเข้าใจผิดว่า ผู้เขียนสนับสนุนความคิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพียงอยากให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะจัดการ ‘คน’ มากกว่า ‘ปัญหา’ หรือ ‘ไวรัส’ หรือ ‘การแพร่ระบาด’ ในช่วงเทศกาลครอบครัว ขอเล่าเรื่องน่าชื่นใจให้ฟังกันดีกว่า เป็นประสบการณ์การกัก