โน้ต วัชรบูล

หน้าแรก / Instagram @watcharabul / รูปของ โน้ต วัชรบูล

โน้ต วัชรบูล

โน้ต วัชรบูล ลี้สุวรรณ

@watcharabul

อินสตาแกรมของ โน้ต วัชรบูล

1,452

Posts

40,485

Followers

405

Followings
| โน้ต วัชรบูล ลี้สุวรรณ


@watcharabul : นี่คือ “ไชยา” กวางผาหนุ่มน้อยพร้อมปลอกคอสัญญาณดาวเทียม(GPS Satellite Collars) ไชยาพร้อมคู่ของมัน และกวางผาตัวอื่นอีก4ตัว ย้ายมาอยู่ที่คอกเตรียมปล่อยที่หน่วยพิทักษ์ป่าขุนห้วยแม่กอก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว เมื่อหกเดือนที่แล้ว ไชยาเกิดและเติบโตที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย จากพ่อแม่ที่เกิดในสถานีเพาะเลี้ยงด้วยเช่นกัน มันจึงไม่มีประสบการณ์ใดๆในการใช้ชีวิตในป่าเลย เป็นเหตุผลว่าทำไมพวกมันจึงต้องมาอาศัยอยู่ที่คอกเตรียมปล่อยก่อนถึงหกเดือน เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สภาพภูมิอกาศของดอยหลวงเชียงดาว ที่แตกต่างจากที่อมก๋อยที่พวกมันจากมาอย่างสิ้นเชิง และที่นี่เองที่อาจเป็นครั้งแรกในชีวิตของมันที่จะได้เจอกับคู่ปรับตลอดกาลอย่าง “เสือดาว”บททดสอบสำคัญของการนำสัตว์ป่าจากที่เพาะเลี้ยงกลับสู่ธรรมชาติ เมื่อสับดาห์ที่แล้วผมร่วมเดินทางไปกับ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เพื่อไปชมความคืบหน้าของโครงการ ปล่อยกวางผาคืนสู่ธรรมชาติ โดยความร่วมมือกันของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยเฉพาะสถานี่วิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาว สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย เพื่อนำกวางผาที่เพาะเลี้ยงได้ปล่อยกับสู่ธรรมชาติที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวเพื่อสร้างประชากรที่แข็งแรงต่อไป กวางผาแต่ก่อนเคยมีอยู่มากในป่าภาคเหนือ แต่ทุกวันนี้ประชากรของมันลดลงอย่างมาก ทั้งจากการล่า การบุกรุกป่าเพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งการที่ป่าถูกแบ่งออกจากกันเพราะการตั้งชุมชนของผู้คน และถนนหนทาง จำนวนกวางผาที่มีอยู่น้อยแล้ว(ประมาณ 232ตัว) ยังถูกจำกัดไม่ให้ไปมาหากันได้อีก จึงทำให้เกิดปัญหาการผสมพันธุ์ในเครือญาติพี่น้อง ทำให้ลูกที่ออกมาอ่อนแอ ไม่แข็งแรง จนถึงมีลักษณะที่ผิดปกติ ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องนำกวางผาจากแหล่งพันธุกรรมอื่นเข้ามาเพื่อแก้ปัญหานี้ รวมทั้งครั้งนี้กวางผาที่ปล่อยได้ติดตั้งปลอกคอสัญญาณดาวเทียม เพื่อการติดตามศึกษาพวกมันต่อไปโดยละเอียด เพราะที่ผ่านมาการปล่อยสัตว์ป่า มักจะเน้นไปที่ปริมาณ คือการเติมจำนวนตัวเข้าไปในพื้นที่ให้มากไว้ก่อน และหวังว่าคงมีสักตัวที่ปรับตัวอยู่รอดปลอดภัยได้เอง ว่ากันตามจริงแล้ว เราก็ไม่เคยทราบเลยว่า สัตว์ป่าที่ปล่อยกับสู่ธรรมชาติ จะสามารถหากิน เอาชีวิตรอดในธรรมชาติ ได้หรือไม่ พวกตัวเมียมันจะเข้ารวมกับฝูงที่มีอยู่เดิม ผสมพันธุ์ออกลูกออกหลาน ให้ประชากรที่แ