ผู้พันเบิร์ด

หน้าแรก / Instagram @colonelbird / รูปของ ผู้พันเบิร์ด

ผู้พันเบิร์ด

ผู้พันเบิร์ด พันโทวันชนะ สวัสดี

@colonelbird

อินสตาแกรมของ ผู้พันเบิร์ด

1,992

Posts

200,586

Followers

133

Followings
|


@colonelbird : หนึ่งเดียวในโลกเรื่องเล่าจากถุงพระราชทาน (จากคำว่าพระราชทานที่แปลว่าให้จนกลายเป็นจิตอาสาในรัชกาลปัจจุบัน สืบสาน รักษาและต่อยอด) ประมาณปี๒๕๓๕ พี่(พี่เชอรี่ ผู้ถ่ายทอดเรื่องราว)ไปรับน้องคณะถาปัดลาดกระบังที่ ดอยอินทนน์ ฝนตกแต่พวกเราก็พารุ่นน้องเดินตากฝน บางคนก็ลูกคุณหนูเดินช้า พี่เป็นฝ่ายเอนเตอร์เทนให้กำลังใจน้องๆ ระหว่างเดินขึ้นดอย ก็เจอชาวเขา เผ่าม้งบ้าง กระเหรี่ยงบ้าง(แต่หลักๆเป็นม้ง) มีลุงอยู่คนหนึ่ง เดินแบบกระสอบสีเขียวเก่าๆ เน่าๆ ใส่หน่อไม้ใส่ผัก อะไรไม่รู้เดินแบกมาแต่ไกล พี่เห็นก็ เอามาแซวรุ่นน้อง(สร้างบรรยากาศ)ว่าถ้าไม่ตั้งใจเรียน จะต้องมาทำไร่ทำนาแบบนี้ พอลุงแกเดินผ่านไป พี่สังเกตุเห็นว่าถุงที่แกสะพายขึ้นหลังมานั้น มีพิมม์อักษรว่า"พระราชทาน" ใจตอนนั้นคิดเลยว่าโห!!เจ๋งสุดๆ ตื้นตันใจมาก อยากได้ เอามาซักทำความสะอาดแล้วหิ้วไปเรียน คงเท่พิลึก เลยเดินตามไปถามว่า "ลุงๆ ถุงนี้ขายไหม ผมอยากได้" แกหันมามองหัวจรดตีน แล้วก็ไม่สนใจจะตอบอะไร เดินตากฝน(พร่ำๆ)ต่อไป พี่ก็เดินตามไปอีก ถามด้วยคำถามเดิม คราวนี้แกหันมาพูด สำเนียงคนม้งใส่มาเต็มๆ "ปาย ปาย ปาย ไม่ขายสิ ขายไม่ด้าย พ่อหลวงให้มา จะขายได้ยังไง" พูดจบก็ เอามือกระชับกระสอบซะแน่น (เหมือนกลัวจะโดนแย่ง) แล้วเดินเลี้ยวลงไปในไร่ข้างทางหายไป..เรื่องเล่าจากพี่เชอรี่... จากถุงพระราชทานปี 35จนถึงถุงพระราชทานปี63 เรื่องเล่าที่สองจากเด็กหญิงวัยรุ่นที่มีความคิดเปลี่ยนไปและลึกซึ้ง เมื่อที่บ้านได้รับถุงพระราชทาน โดยมีจิตอาสา904นำมาให้ที่บ้านตอน4ทุ่ม เธอจึงเข้าใจแล้วถึงความผูกพันกันของพระมหากษัตริย์กับประชาชนไทย นอกจากเธอจะได้เห็นตารวมทั้งพ่อกับแม่นั่งยองๆยกมือไหว้ท่วมหัว และนอกจากเธอจะรีบแกะดูของที่อยู่ข้างในแล้ว สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือเธอ ได้คิด และคิดได้ เธอกล่าวว่า เธอเข้าใจได้ในระยะเวลาอันสั้นนี้ทันทีว่า พระมหากษัตริย์คือสิ่งยึดเหนียวจิตใจจริงๆ เพราะการให้จากใครๆ ที่เธอเคยได้รับ เธอรู้สึก ก็คือผลประโยชน์ แต่ ถุงพระราชทานนี้เธอกลับไม่รู้สึกแบบนั้นเลย เธอยังเข้าใจอีกเ้วยว่าทำไมทุกสาขาอาชีพจึงมีในหลวงเป็นปณิธานสุงสุดเรื่องการให้และการช่วยเหลือ เธอสรุปแบบแยบยลแสดงออกถึงความเป็นผู้ที่เจริญทางปัญญาว่า จากคำว่าพระราชทานที่แปลว่าให้ จนกลายเป็นจิตอาสาในรัชกาลปัจจุบัน สืบสาน รักษา และต่อยอด