ท็อป ดารณีนุช

หน้าแรก / Instagram @topdaraneenute / รูปของ ท็อป ดารณีนุช

ท็อป ดารณีนุช

ท็อป ดารณีนุช โพธิปิติ

@topdaraneenute

อินสตาแกรมของ ท็อป ดารณีนุช

13,971

Posts

583,252

Followers

947

Followings
| 💚🏃🏻‍♀️🥰🌳💃🏼🐶🏡🌈🌏🚵🏻‍♀️🙏🏼✨👦🏻👦🏻#ช่วยเหลือสวัสดิการผู้พิทักษ์ป่า กองทุนใครรักป่ายกมือขึ้น ที่ลิงก์ด้านล่างค่ะ


@topdaraneenute : @rangersfundth จะขอเล่าถึงที่มาของลายต่างๆบนเสื้อโครงการ #ใครรักป่ายกมือขึ้นcollection2 ให้ฟังทีละลายนะคะ ว่าทำไมเราถึงได้เลือกลายต่างๆเหล่านี้ขึ้นมาทำเสื้อและเกี่ยวโยงกับ”ผู้พิทักษ์ป่าของไทย”ได้อย่างไร ลายต่อมา เป็นหมวดหมู่ของเสือโคร่ง ลายแรกชื่อ ลายProtect&Respect ออกแบบโดย อาจารย์กฤษกร ปสุตนาวิน และอีกลายคือ ลายเสือ ออกแบบโดยพี่ดุ๊ก ภาณุเดช @duke_bhanudej เสือโคร่ง🐯 เสือโคร่งคือดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ในฐานะ "นักล่า" เสือโคร่งยังมี บทบาทเป็นผู้ควบคุมประชากรในห่วงโซ่อาหารไม่ให้ "มากเกินไป" อีกด้วย ทั้งนี้ กระบวนการ "ล่าเหยื่อ" ของเสือโคร่ง ยังทำให้ระบบนิเวศคงรักษาไว้ซึ่งสาย พันธุ์ที่ดีของสัตว์จำพวกเหยื่อ เนื่องจากตามกลไกของ การเลือกสรรแล้ว แน่นอนว่าเหยื่อที่อ่อนแอกว่ามักถูก ล่าก่อนเป็นอันดับต้นๆ เพราะการพื้นฟูประชากรเสือโคร่ง คือการฟื้นฟูระบบ นิเวศเช่นเดียวกัน เนื่องจากทุกวันนี้พบว่าเสือโคร่งอาศัยอยู่ใน 13 ประเทศเท่านั้น หนึ่งในนั้นคือประเทศไทย และเสือโคร่งไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในรอบ 10ปี! โดยมีการตั้งเป้าหมายว่าจะช่วยกันเพิ่มจำนวนประชากรเสือโคร่งขึ้นเป็น 2 เท่า ในปี 2565 ซึ่งในส่วนของประเทศไทยขอเพิ่มเพียง 50% ของประชากรเสือที่มีอยู่ในประเทศขณะนี้ประมาณ 200-250 ตัว คือจะต้องเพิ่มประชากรเสือขึ้นอีกประมาณ 100-125 ตัว ดังนั้นการที่ประชากรเสือโคร่งเพิ่มขึ้น จึงเป็นเรื่องน่ายินดี เนื่องจากตัวเลขของเสือโคร่ง เป็นตัวชี้วัดได้ว่า ผืนป่าแห่งนั้นมีเหยื่อที่หลากหลาย อีกทั้งยังมีพื้นที่กว้างขวางเพื่อเป็นอาณาเขตุของเสือ โคร่ง และมีความอุดมสมบูรณ์มากพอสำหรับสิ่งมีชีวิต ที่จะสามารถอาศัยอยู่ใน "บ้าน" หลังนี้ได้ การที่เสือโคร่งจะเพิ่มประชากรขึ้นได้ก็จะต้องได้รับการดูแลปกป้องจากมนุษย์ซึ่งเป็นภัยสำคัญจากนอกป่า และแน่นอนผู้ที่ทำหน้าที่นั้นคือผู้พิทักษ์ป่า ของเรานั่นเอง สามารถสั่งซื้อได้ทาง f:ใครรักป่ายกมือขึ้น