โน้ต วัชรบูล

หน้าแรก / Instagram @watcharabul / รูปของ โน้ต วัชรบูล

โน้ต วัชรบูล

โน้ต วัชรบูล ลี้สุวรรณ

@watcharabul

อินสตาแกรมของ โน้ต วัชรบูล

1,452

Posts

40,485

Followers

405

Followings
| โน้ต วัชรบูล ลี้สุวรรณ


@watcharabul : เมื่อวานผมได้ไปฟังการเสวนาเรื่อง “ควายป่า…ต้นกำเนิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง” ในงาน งาน รําลึก 29 ปีสืบ นาคะเสถียร ที่หอศิลปวัฒธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร “ทำให้อดคิดถึงช่วงเวลาที่ได้บันทึกภาพควายป่าครั้งแรกไม่ได้ วันนั้นเป็นช่วงปลายของฤดูแล้ง แต่น้ำที่ในลำห้วยขาแข้งยังคงไหลริน ชายหาดกว้าง มีหญ้าอ่อนเขียวสดระบัดไปทั่ว เช้ามืดผมตื่นขึ้นมา หอบกายหยาบของผมออกจากเต็นท์ที่กางอยู่บนเนินเขาไม่ไกลออกมา ทอดสายตามองไปริมห้วย ตอนนั้นไม่ได้เอะใจอะไรเห็นแต่ก้อนดำๆเกลื่อนทั่วชายหาด เมื่อแสงอาทิตย์ยังไม่พ้นยอดไม้ออกมา เราก็คิดว่าเป็นแค่ก้อนหิน สักครู่หนึ่งเหล่าก้อนๆดำๆพวกนั้นเริ่มเคลื่อนไหว มันคือฝูงควายป่านับได้คร่าวๆร่วม ๑๘ ตัว มีทั้งตัวเต็มวัย ควายวัยรุ่น และลูกควายตัวเล็กๆ มันอาจเป็นแค่สัตว์ป่าหนึ่งฝูงสำหรับบางคน แต่สำหรับผมแล้วมันคือเรื่องราวการเดินทางที่ยาวนานของการอนุรักษ์ที่มีทั้งช่วงเวลาที่ดีอุดมสมบูรณ์ และช่วงแย่ๆที่เกือบเอาตัวกันไม่รอด” “ทำไมผมถึงสนใจใน ควายป่า เพราะว่ามันเป็นสัตว์ที่ทำให้เกิด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ทุกวันนี้ครับ” เนื้อหาเชิงประวัติศาสตร์ โดยคุณ กฤษกร วงศ์กรวุฒิ บางช่วงบางตอนมาเล่าต่อให้เพื่อนๆฟัง ย้อนเวลากลับไปในอดีต ก่อนที่เมืองไทยจะเริ่มมีการขายข้าว ก่อนโครงการพัฒนาคลองรังสิต ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๑๕ (ต้นรัชสมัย ของรัชกาลที่ ๕ ) ยอห์น แบรดเลย์ นักล่าสัตว์ชาวอเมริกัน ได้เดินทางมาสำรวจลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยเริ่มที่เมืองระแหง(จังหวัดตาก) ล่องลงมาเรื่อยๆจนถึงพระนคร ระบุว่าช่วงที่ตั้งปางพักแถวๆจังหวัด นครสวรรค์ในปัจจุบัน ตอนกลางคืนนอนไม่หลับเลย เพราะเสียงเสือสู้กับควายป่า และตลอดการเดินทางล่องเจ้าพระยา พบทั้ง เสือ ช้าง ควายป่า และแรด(แรดชวา)ถึง ๕ ตัว พ.ศ. ๒๔๖๕ นายแพทย์ เอ เอฟ จี คาร์ นักธรรมชาติวิทยาชาวไอริช ได้ล่องเจ้าพระยาอีกครั้ง โดยเป็นการเดินทางย้อนทวนขึ้นไปถึงปากน้ำโพ นครสวรรค์ ก่อนเดินเท้าเลียบแนวป่าตะวันตกขึ้นไปเชียงใหม่ ในรายงานระบุว่าพบเพียง สมเสร็จ ๑ ตัวและรอยกระทิง เสือโคร่ง กวางป่า แต่ไม่ได้พูดถึงควายป่าในที่ลุ่มเจ้าพระยาอีกแล้ว พ.ศ.๒๕๐๑ นายแพทย์ บุญส่ง เลขะกุล ได้เขียนบทความลงในวารสารนิยมไพร ว่าควายป่าของประเทศไทยได้สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยตัวสุดท้ายโดนยิงที่ อำเภอ วิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบุรณ์